วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

บทที่ 7 น้ำหนักตัวกับสุขภาพ

        ความสำคัญของการดูแลและควบคุมน้ำหนักตัว
กระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้น้ำหนักตัวเป็นดัชนีวัดด้านสุขภาพ เพราะน้ำหนักตัวมีผลโดยตรงกับสุขภาพ
        ผลกระทบจากการมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานหรือโรคอ้วน แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ
1.โรคเรื้อรังที่สัมพันธ์กับโรคอ้วน ได้แก่ โรคหัวใจขาดเลือด,ความดันเลือดสูง,หลอดเลือดสมอง,เบาหวาน,นิ่วในถุงน้ำดี,มะเร็งบางชนิด เป็นต้น
2.ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อและการเผาผลาญทางชีวเคมีในร่างกาย
3.ปัญหาสุขภาพอ่อนแอ ทำให้เ้้กิดโรคต่างๆ
4.ปัญหาทางสังคมและจิตใจ ผู้ที่มีน้ำหนักเกินมักขาดความมั่นใจในตนเอง เกิดปมด้อย มีภาวะซึมเศร้า เนื่องจากไม่พอใจในรูปลักษณ์ของตนเอง
        วิธีการประเมินและวิเคราะห์น้ำหนักตัว
1.การประเมินน้ำหนักตัวในเด็ก ใช้ค่าน้ำหนักตัวเทียบกับน้ำหนักเกณฑ์อายุ หรือ น้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูงเปรียบเทียบกับเกณฑ์อ้างอิง
2.การประเมินน้ำหนักตัวในผู้ใหญ่ การประเมินและวิเคราะห์น้ำหนักตัวในผู้ใหญ่ สามารถทำได้โดยการคำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI) เป็นหน่วยมาตรฐานสากลที่ใช้จำแนกน้ำหนักของร่างกายว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ มีน้ำหนักตัวน้อยเกินไปหรือมากเกินไป หรือเป็นโรคอ้วนในผู้ใหญ่ที่มีอายุ20ปีขึ้นไป วิธีคำนวณใช้น้ำหนักตัวตั้ง (หน่วยกม.) หารด้วยส่วนสูงยกกำลังสอง (หน่วยเป็นม.)
        การแปลผลค่าดัชนีมวลกายสำหรับคนเอเชีย (เกษนภา เตกาญจนวนิช,2549)
          ค่า BMI น้อยกว่า 18.5     หมายถึง  น้ำหนักน้อย
          ค่า BMI 18.50 ถึง 22.99  หมายถึง   น้ำหนักปกติ
          ค่า BMI 23.00 ถึง 24.99  หมายถึง   น้ำหนักเกิน
          ค่า BMI 25.00 ถึง 29.99  หมายถึง   อ้วน
          ค่า BMI 30.00 ขึ้นไป       หมายถึง   อ้วนมาก
        วิธีการดูแลและควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
1.กินอาหารสมดุล
2.กินอาหารเช้าทุกวันเพราะมื้อเช้าเป็นมื้อหลักสำคัญ
3.กินอาหารพออิ่มในแต่ละมื้อ
4.กินอาหารธรรมชาติไม่แปรรูป
5.กินผักผลไม้รสไม่หวาน
6.กินอาหารมื้อเย็นห่างจากเวลานอนไม่น้อยกว่า 4 ชม.
7.กินให้น้อยลง เลี่ยงอาหารมันจัด หวานจัด และ เค็มจัด
8.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
9.ประเมินและวิเคราะห์น้ำหนักตัวเป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ
        การแก้ไขปัญหาน้ำหนักตัว
การเพิ่มน้ำหนักตัว มีหลักการปฏิบัติดังนี้
1.กินอาหารหลากหลายครบ 5 หมู่
2.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
การลดน้ำหนักตัว มีหลักการปฏิบัติดังนี้
1.มีความตั้งใจ มุ่งมั่นจริงที่จะลดน้ำหนัก ลดเอว
2.สร้างความคิดที่ดี
3.ตั้งเป้าหมายที่เป็นไปได้ของน้ำหนักที่ลด
4.ลดน้ำหนักเพื่อสุขภาพ ไม่ควรลดมากจนเกินไป
5.อัตราการลดน้ำหนักที่เหมาะสมคือ สัปดาห์ละครึ่งกก.-1กก.
6.ควบคุมพลังงานจากอาหารที่ได้รับในแต่ละวันกับพลังงานที่ร่างกายนำไปใช้ให้สมดุล
7.กินอาหารทุกมื้อ ต้องไม่งดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง
8.งดของหวาน และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
9.กินผัก ผลไม้ที่รสไม่หวานให้มากขึ้น
10.มีความอดทน ถ้ารู้สึกหิวทั้งๆที่เพิ่งกินไป ให้หันไปทำอย่างอื่นแทน
11.เคี้ยวอาหารอย่างช้าๆ
12.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้งๆละ 30-60 นาที โดยออกกำลังกายที่มีระดับปานกลางไม่เหนื่อมากจนเกินไป

7 ความคิดเห็น: