วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2555

บทที่ 9 การปฐมพยาบาล

        การปฐมพยาบาล คือ การช่วยเหลือเบื้องต้นโดยรีบด่วนแก่ผู้ได้รับบาดเจ็บ
ความสำคัญของการปฐมพยาบาล
1.การปฐมพยาบาลเป็นการช่วยรักษาชีวิตของผู้บาดเจ็บและผู้ป่วย
2.การปฐมพยาบาลช่วยป้องกันไม่ให้ผู้บาดเจ็บและผู้ป่วยมีสภาพหนักกว่าเดิม
3.การปฐมพยาบาลเป็นการบรรเทาความเจ็บปวด
        หลักทั่วไปในการปฐมพยาบาล
1.ในสถานที่ที่มีผู้ได้รับอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยให้ผู้ปฐมพยาบาลสังเกตสถานการณ์และสิ่งแวดล้อม
2.ประเมินสภาพแวดล้อมรอบๆที่เกิดเหตุว่าปลอดภัยหรือไม่ จึงเข้าไปให้การช่วยเหลือ
3.หากประเมินแล้วว่าไม่สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บได้ตามลำพัง ให้ติดต่อขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น
4.จัดท่าให้ผู้ป่วย/ผู้ป่วยนอนพักนิ่งๆในท่าที่สบายหรือท่าที่เหมาะสมแก่การปฐมพยาบาลและบอกให้ทราบว่าผู้ปฐมพยาบาลจะดำเนินการช่วยเหลืออะไรบ้าง
5.ประเมินผู้บาดเจ็บ/ผู้ป่วยว่าได้รับบาดเจ็บรุนแรงที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลเร่งด่วนมากน้อยหรือไม่
6.ถ้าจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ/ผู้ป่วยต้องกำหนดใน่การส่งลักษณะใด
7.อุบัติเหตุและการเจ็บป่วยบางอย่างจำเป็นต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญเมื่่อให้การปฐมพยาบาลแล้ว รีบนำส่งไปรับการรักษาต่อทันที
        สถานการณ์ที่ต้องให้การปฐมพยาบาล
1.หมดสติ เป็นการที่ร่างกายไม่ตอบสนองต่สิ่งกระตุ้น
2.เลือดออก การบาดเจ็บมักมีบาดแผลเลือดออก
3.กระดูกหัก ต้องปฐมพยาบาลโดยการเข้าเฝือกชั่วคราว
        วิธีการปฐมพยาบาลคนเป็นลม
การเป็นลม(Fainting)เป็นอาการเนื่องจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ
สาเหตุ
1.ร่างกายอ่อนเพลีย
2.ขาดอากาศบริสุทธิ์
3.เกิดจากอารมณ์
4.มีบาดแผลเสียเลือดมาก
อาการ
1.ที่ผู้ป่วยบอก เช่น วิงเวียงศรีษะ มือเย็น
2.ที่สังเกตเห็น เช่น หน้าซีด ปากซีด ตัวเย็น
การปฐมพยาบาล
กรณีหายใจปกติ
1.ห้ามคนมุงดู
2.ให้นอนราบ
3.คลายเสื้อผ้าให้หลวม
4.ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดหน้าผาก
กรณีหายใจผิดปกติ
1.ให้นอนงายพื้นราบศรีษะต่ำ
2.คลายเสื้อผ้าให้หลวม
3.ให้ผู้ป่วยนอนตะแคง เอาสิ่งแปลกปลอมในปากออกให้หมด
4.ถ้าหยุดหายใจ รีบนำตัวส่งโรงพยาบาล
วิธีการปฐมพยาบาลบาดแผล
บาดแผล หมายถึง การถูกทำลายของผิวหนังหรือเนื้อเยื้อที่อยู่ภายใต้ผิวหนัง
1.แผลปิด เป็นแผลที่ไม่มีการฉีกขาดของเนื้อเยื้อ
2.แผลเปิด เป็นผิวหนังฉีกขาดมีเลือดออก
การปฐมพยาบาล
2.1ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด เช็ดแผลให้แห้ง ใส่ยาฆ่าเชื้อ ระวังอย่าให้แผลถูกน้ำหรือสิ่งสกปรก
2.2แผลฉีกขาด ให้ปิดปากแผลด้วยผ้าสะอาดและกดปากแผลให้แน่นเพื่อห้ามเลือด
2.3แผลถูกแทง ให้ปิดปากแผลด้วยผ้าสะอาด แล้วรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ
2.4แผลถูกของแหลมทิ่ม ตำ เมื่อถูกทิ่มตำ ให้ดึงออกปิดปากแผลด้วยผ้าสะอาด และนำส่งโรงพยาบาลแต่ถ้าของแหลมบางอย่างหักค้าง
2.5แผลถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวกหรือวัตถุระเบิด ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งปิดแผลช่วยลดอาการปวด อย่าเจาะหนังที่พองให้แตกออกเพราะจะยิ่งปวด และติดเชื้อง่ายขึ้น ความรุนแรงขึ้นอยู่กับความลึกของชั้นผิวหนัง ขนาดและำแหน่งของอวัยวะที่บาดเจ็บ
        บาดแผลถูกแมลงต่อย อาการไม่รุนแรง จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนแมลงที่ต่อยและจำนวนครั้งที่ถูกต่อย
การปฐมพยาบาล
1.รีบเอาเหล็กในออก โดยใช้สก๊อตเทป ปิดทาบบริเวณที่ถูกต่อยแล้วดึงออกมา
2.ประคบด้วยความเย็น ถ้าปวดมากให้กินยาแก้ปวดพาราเซเตมอลช่วย
3.พิษของสัตว์มีฤทธิ์เป็นกรด ต้องใช้น้ำยาที่มีฤทธิ์เป็นด่างอย่างอ่อนชุปสำลีทา
4.ถ้ามีอาการมากรีบปรึกษาแพทย์
        บาดแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
ไฟไหม้ (Burns) หมายถึง การถูกทำลายของผิวหนังหรือเนื้อเยื้อ ด้วยความร้อนแห้ง
น้ำร้อนลวก (Scalds) หมายถึง การถูกทำลายของผิวหนังหรือเนื้อเยื้อ ด้วยความร้อนชนิดเปียก
การปฐมพยาบาล
1.ถ้าเป็นแผลขนาดเล็ก ให้ใช้ความเย็นบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อน
2.ถ้าแผลลึกแต่ไม่กว้าง การปฏิบัติคืิอ ป้องกันการอักเสบติดเชื้อ ถ้าบาดแผลพอง ขนาดเล็กไม่ก่อน2-3 ซม. อาจปล่อยทิ้งไว้เฉยๆเพียงแต่รักษาความสะอาดภายนอก โดยล้างแผลด้วยน้ำสบู่
3.ถ้าเป็นบริเวณข้อพับ แขนหรือขา ควรใส่เฝือกชั่วคราว เพื่อป้องกันการหดรั้งของแผล และป้องกันความพิการที่จะเกิดขึ้น
4.ถ้ามีอาการช็อก รีบรักษาและป้องกันการช็อกไว้ก่อน โดย
4.1ให้ยกปลายเท้าสูงและให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย
4.2ให้ยาระงับปวดพาราเซตามอล รีบนำส่งโรงพยาบาล
4.3ถ้าหายใจผิดปกติหรือหยุดหายใจ รีบช่วยหายใจและส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
4.4ถ้าชีพจรเบามากหรือไม่มีชีพจร ต้องนวดหัวใจภายนอกทันที
        บาดแผลถูกสารเคมี มีลักษณะไหม้ มีอาการคล้ายๆกับแผลโดนไฟไหม้ แต่อันตรายที่เกิดขึ้นคือ แผลไหม้จากสารเคมีอาจกินลึกกว่าและการหายของบาดแผลช้ากว่า
บาดแผลถูกกรด เช่น กรดกำมะถัน กรดเกลือ กรดไนตริก
การปฐมพยาบาล
1.ควรล้างแผลทันทีด้วยน้ำสะอาดจำนวนมากๆเป็นเวลานานๆถ้าเป็นน้ำอุ่นได้ยิ่งดีล้างนานจนแน่ใจว่าสารเคมีออก
2.รีบนำส่งแพทย์
บาดแผลถูกด่าง เช่น โปตัสเซียมไฮดรอกไซด์ ปูนขาว โซดาไฟ
การปฐมพยาบาล
1.ควรล้างแผลทันทีด้วยน้ำสะอาดจำนวนมากๆเป็นเวลานานๆ
2.รีบนำส่งแพทย์
        วิธีการปฐมพยาบาลกระดูกหัก ข้อเคลื่่อน
ดูแลอวัยวะตำแหน่งนั้นพักอยู่นิ่งๆไม่ควรเคลื่อนไหว ถ้ากระดูกหักต้องเข้าเฝือกชั่วคราว ก่อนเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเพื่อนำส่งโรงพยาบาล กรณีมีแผลฉีกขาดให้ปิดแผลห้ามเลือดก่อนที่จะเข้าเฝือก และอย่าพยายามดึงกระดูกที่หักเข้่่าที่ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้กระดูกส่วนที่หักเคลื่อนไหว เพราะอาจก่อให้ตำทะลุหลอดเลือด เส้นประสาทหรือตำทะลุออกมานอกกล้ามเนื้อ
        การเข้าเฝือกชั่วคราวเป็นวิธีบังคับกระดูกส่วนที่หักอยู่นิ่งไม่เคลื่อนไหวเพื่อลดความเจ็บปวดและป้องกันความพิการ ถ้าหาสิ่งที่ใกห้มือเพื่อเข้าเฝือกไม่ได้ ให้มัดส่วนที่กระดูกหักไว้ไม่เคลื่อนไหว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น