วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555

บทที่ 12 เสี่ยงเสพติด

        สถานการณืเสี่ยงต่อการติดสารเสพติด
        สภาพสังคมในปัจจุบันมีสถานการณ์และปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ติดสารเสพติดหลายประการณ์ เพื่อจะได้เลี่ยงให้ตนเองปลอดภัยจากสารเสพติด สถานการณ์เสี่ยงที่ทำให้เกิดสารเสพติดมีดังนี้
1.สภาพสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสารเสพติด
2.สถานที่เที่ยวกลางคืน
3.ปัญหาส่วนตัว
4.ความอยากทดลอง
5.การใกล้ชิดกับผู้ติดสารเสพติด
6.การขาดความรู้
7.การประกอบอาชีพที่ต้องทำงานหนักเป็นระยะเวลานานๆ
8.ความจำเป็นของร่างกาย
9.ความต้องการฤทธิ์ที่พึ่งประสงค์ของสารเสพติด
10.การไม่ได้รับความสำคัญในครอบครัว


        ทักษะชีวิตเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติด
    ทักษะชีวิต คือ ความสามารถในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
1.ทักษะการคิดวิเคราะห์ เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ข้อมูล
2.ทักษะการสื่อสาร เป็นความสามารถในการใช้คำพูดและท่าทางเพื่อแสดงออกถึงความนึกคิดของตนเองในสถานการณ์ต่างๆไดอย่างเหมอะสม ในการพูดปฏิเสธควรดังนี้
        1.ต้องปฏิเสธอย่างแข็งขันด้วยท่าทาง คำพูด น้ำเสียง เพื่อแสดงให้เห็นว่าเรามีอิธิพลเหนือเขา ไม่ใช่เขามีอิธิพลเหนือเรา
        2.ใช้ความรู้สึกของตนเองด้วยเหตุและผล ไม่ต้องใช้เหตุผลอื่น เพื่อให้ผู้ชักชวนต่อความได้ยาก
        3.ถนอมน้ำใจผู้ชักชวน โดยถามความเห็นของเขา เพื่อแสดงว่าเราให้เกียรติเขา
        4.หลีกหนีให้ห่างไกลสถานการณ์นั้นโดยเร็ว
3.ทักษะการตัดสินใจ เป็นความสามารถในการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่่องราวต่างๆในชีวิตได้อย่างมีเหตุผล
4.ทักษะการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการจักการกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตได้อย่างมีระบบ โดยวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา และคิดวิธีการอก้ไขปัญหาด้วยการใช้เหตุผล พิจารณาทุกอย่างที่เกิดขึ้นในด้านดี

บทที่ 11 สารเสพติด

        สารเสพติด หมายถึงสารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายด้วยการกิน ดม สูบ ฉีด หรือวิธีอื่นๆทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายและจิตใจ ต้องการเสพมากขึ้นเรื่อย มีอาการขาดยา เมื่อไม่ได้เสพ


        ประเภทของสารเสพติด แบ่งได้ดังนี้
1.แบ่งตามแหล่งที่เกิดขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
        1.1ยาเสพติดธรรมชาติ (Natural Drugs) คือ ยาเสพติดที่ผลิตจากพืช เช่น ฝิ่น กระท่อม กัญชา
        1.2ยาเสพติดสังเคราะห์ (Synthetic Drugs) คือ ยาเสพติดที่ผลิตด้วยกรรมวิธีทางเคมี เช่น เฮโรอีน (Heroin) แอมเฟตามีน (Amphetamine) หรือยาบ้า เป็นต้น
2.แบ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 แบ่งออก 5 ประเภท
        2.1 ประเภทที่ 1 ได้แก่ เฮโรอีน แอลเอสดี(LSD) แอมเฟตามีน(Amphetamine)หรือยาบ้า ยาอี ยาเลิฟ
        2.2 ประเภทที่ 2 ยาเสพติดประเภทนี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้  แต่ต้องภายใต้การควบคุมของแพทย์ื  และใช้ในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน(Morphine) โคเคอีน(Cocain) และเมทาโดน(Methadone)
        2.3 ประเถทที่ 3 มียาเสพติดประเภทที่ 2 ผสมอยู่ จะมีประโยชน์ทางการแพทย์ การนำไปใช้เพื่อจุดประสงค์อื่นหรือเพื่อเสพติด จะมีบทลงโทษกำกับไว้ ยาเสพติดประเถทนี้ ได้แก่ ยาแก้ไอที่มีโคเคนอีน ยาแก้ท้องเสียที่มีฝิ่นผสม  ยาฉีดระงับปวด เช่น มอร์ฟีน เพทิดีน(Pethidine)สกัดมาจากฝิ่น
        2.4 ประเภท 4 คือ สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 1/2 ไม่มีใช้ในการบำบัดโรค และมียทลงโทษกำกับด้วย ได้แก่ น้ำยาเคมีที่ใช้ในการเปลี่ยนมอร์ฟีนเป็นเฮโรอีน สารบางอย่างใช้ในการผลิตยาบ้า และวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท 12 ชนิด สามารถนำมาผลิตยาอี ยาบ้าได้
        2.5 ประเภทที่ 5 ไม่อยู่ในข่ายยาเสพติด ประเภท 1-4 ได้แก่ ทุกส่วนของกัญชา/กระท่อม เห็ดขี้ความ เป็นต้น
3.แบ่งตามการออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท แบ่งเป็น 4 ประเภท
        3.1 ประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน สารระเหย และ ยากล่อมประสาท
        3.2 ประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ แอมเฟตามีน กระท่อม และโคเคนอีน
        3.3 ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็มพี (DMP) และเห็ดขี้ควาย
        3.4 ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน คือ อาจกด กระตุ้น หรือ หลอนประสาทได้พร้อมๆกัน เช่น กัญชา


        ลักษณะอาการของผู้ติดสารเสพติด
    การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย มีอาการดังนี้
    1.สุขขภาพทรุดโทรม
    2.ริมฝีปากเขียวช้ำ แห้ง แตก ถ้าเสพโดยการสูบ
    3.ตาไม่ตาไม่ค่อยสู้แสงสว่าง เพราะม่านตาขยายมากกว่าปกติ นัยน์ตาสีแดง
    4.น้ำมูก น้ำตาไหล เหงื่ออกมาก กลิ่นตัวแรง สกปรก บางครั้งได้กลิ่นสิ่งที่เสพ เช่น บุหรี่
    5.ร่างกายมีร่องรอยการเสพติด
    6.หากเสพโดยการสูบ นิ้วมือ เล็บ จะมีคราบเหลืองดำ สกปรก
    7.การแสดงออกของพฤติกรรมมีลักษณะแปลกไปจากปกติ
    การเปลี่ยนแปลงทางด้านพฤติกรรม ผู้เสพสารเสพติดมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปสังเกตได้ดังนี้
    1.เบื่อการเรียน การงาน เกเร หนีเรียน ละเลยกิจวัตรประจำวัน ระเบียบวินัยลด
    2.ขาดความรับผิดชอบในหน้าที่
    3.บุคลิกเสียไป ขาดวามเชื่อมั่นในตนเอง จิตใจอ่อนแอ ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ปล่อยเนื้อปล่อยตัว พูดจาไม่สัมพันธ์กับสภาพความเป็นจริง
    4.ชอบอยู่สันโดษ หลบหน้าเพื่อน ทำตัวลึกลับ มั่วสุมกับคนที่พฤติกรรมการใช้สารเสพติด สูบบุหรี่จัดขึ้น ชอบแยกตัวอยู่คนเดียวที่ลับตาคนเพื่อแอบเสพยา
    5.นิสัยก้าวร้าว โมโหง่ายผิดปกติ พูดจาก้าวร้าวแม้แต่บิดามารดา
    6.มีธุระส่วนตัวนอกบ้านเสมอๆกลับบ้านผิดเวลาประจำ ไม่ชอบทำงาน ชอบนอนทั้งวัน ตื่่นสายผิดปกติ
    7.ใช้เงินเปลืองผิดปกติ มีหนี้สิน บางครั้งขโมย
    8.มีอุปกรณ์เกี่ยวกับยาเสพติด



        สารเสพติดกับการเกิดโรคและอุบัติเหตุ
        สารเสพติดแต่ละชนิดมีลัษณะการเสพและอันตรายต่างกัน การใช้สารเสพติดทุกประเภทมีความสัมพันธ์กันอย่างชัดเจนกับการเกิดโรคและอุบัติเหตุ ทำให้เกิดการเจ็บป่วยและเสียชีวิต เมื่อสารเสพติดเข้าร่างกายระยะเเรกจะออกฤทธิ์ทำให้ร่างกายตื่นตัว หัวใจเต้นเร็ว ความดันเลือดสูง ใจสั่น ประสาทตึงเครียด แต่เมื่อหมดฤทธิ์ยา จะรู้สึกอ่อนเพลียมากกว่าปกติประสาทล้าทำให้ตัดสินใจช้า และผิดพลาด เป็นเหตุก๋ออุบัติเหตุร้ายแรงได้ ถ้าใช้ติดต่อเป็นเวลานานจะทำให้สมองเสื่อม ประสาทหลอน เห็นภาพลวงตา เสียสติ คลุ้มคลั่ง เป็นบ้า  ถ้าได้รับยาปริมาณมาก(Overdoes) จะกดประสาท และระบบหายใจทำให้หมดสติ หรือถึงแก่ตายได้


        ความสัมพันธ์ของการใช้สารเสพติดกับการเกิดโรค
1.การเสพยาบ้า มีผลต่อจิตใจทำให้เกิดโรคจิตชนิดหวาดระแวง ส่งผลให้มีพฤติกรรมเปลี่ยนไป
2.การสูบบุหรี่เหมือนการฆ่าตัวตายอย่างช้าๆทำให้เกิดโรคที่พบได้บ่อย คือ โรคถุงลมโป่งพอง เป็นโรคเกี่นวกับทางเดินหายใจรักษาไม่หาย โรคมะเร็งปอด เกิดจากสารทาร์ในควันบุหรี่ คนสูบบุหรี่มีสถิติตายด้วยโรคนี้มากกว่าคนปกติ 10 เท่า โรคหัวใจและโรคหัวใจวาย การสูบบุหรี่ทำให้เส้นเลือดตีบตัน เกิดอาการหัวใจวาย
3.การเสพสารระเหยเป็นอันตรายต่อระบบหายใจ ระบบทางเดินปัสสาวะจะทำให้ไตอักเสบจนถึงพิการ ระบบหัวใจและหลอดเลือดจะทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ ระบบสร้างเลือดจะทำให้ไขกระดูกซึ่งมีหน้าที่สร้างเม็ดเลือดหยุดทำงาน เลือดแข็งตัวช้า บางรายเกิดเป็นมะเร็งในเม็ดเลือดขาว
4.การดื่มสุรา ทำให้เกิดโรคพิษสุราเรื้อรัง มีโอกาสเป็นโรคมะเร็งตับเสียชีวิต เจ็บป่วย/พิการจากโรคที่สามารถป้องกันได้


        ความสัมพันธ์ของการใช้สารเสพติดกับการเกิดอุบัติเหตุ
        ผู้ใช้สารเสพติดอาจประสบอุบัติเหตุได้ง่ายโดยเฉพาะการขับขี่่ยานพาหนะ เพราะระบบการควบคุมกล้ามเนื้อและประสาทบกพร่อง ความสามารถในการมองเห็นน้อยลง เป็นอันตรายต่อผู้ขับขี่ยานพาหนะหรือแต่เดินบนท้องถนน เพราะเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ตลอดเวลา ซึ่งส่งผลกระทบต่อตนเองและบุคคลรอบข้าง เพราะอาจเกิดการบาดเจ็บ พิการ ทุพพลภาพหรืออาจเสียชีวิตจากอุบัติเหตุได้

        แนวทางการป้องกันและแก้ไข้ปัญหาสารเสพติด
        แนวทางการป้องกันการใช้สารเสพติด
       1.การปฏิบัติตนเพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเราใช้สารเสพติด มีวิธีปฏิบัติ ดังนี้
1.1  ศึกษาเกี่ยวกับโทษของยาเสพติด จะทำให้เกิดความกลัวอันตรายจากสารเสพติด และเป็นเกราะป้องกันมิให้เข้าใกล้สารเสพติด
1.2  ไม่ทดลองใช้สารเสพติด บางคนทดลองใช้เพราะคิดว่าคงจะไม่ติดง่ายๆ และเมื่อติดแล้วใจก็ไม่แข็งพอทำให้ไม่สามารถเลิกสาารเสพติดได้
1.3  อย่าใช้ยาเสพติดในการแก้ปัญหาชีวิต เพราะนอกจากจะไม่ทำให้ชิวิตดีขึ้นแล้ว ยังทำให้ชีวิตแย่ลงกว่าเก่าเสียอีก
1.4  ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ สร้างเสริมคุณค่าให้แก่ตนเอง เช่น เล่นกีฬา เลานดนตรี
1.5  รักษาสุขภาพอนามัย ผู้ที่เจ็บป่วยบ่อยมักมีสุขภาพจิตที่ไม่ดีจนอาจนำไปสู่การใช้สารเสพติด หรือบางคนอาจใช้เพื่อการรักษาจนติดเป็นนิสัย
1.6  มีทักษะในการปฏิเสธ ต้องรู้จักการปฏิเสธเมื่อมีผู้ชักชวนให้ใช้สารเสพติด
1.7  มีทักษะในการดำรงชีวิต รู้จักดำเนินชีวิตไปในทางที่ดี ไม่ยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติด
        2.การสร้างบรรยายกาศในครอบครัวให้อบอุ่น ควรปฏิบัติดังนี้
2.1  สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิกในครอบครัว
2.2  รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองในการเป็นสมาชิกของครอบครัว
2.3  มีความประพฤติทั้งการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี

        การดำเนินงานป้องกันสารเสพติดในโรงเรียน
        โรงเรียนเป็นสถาบันที่มีบทบาทสำคัญรองลงมาจากครอบครัวดังนั้นการดำเนินการเพื่อป้องกันเยาวชนให้ปลอดภัยจากยาเสพติดจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
        1.เข้าร่วมการศึกษาเกี่ยวกับโทษและอันตรายของสารเสพติด
        2.ร่วมเป็นแกนนำนักเรียนและเยาวชนในโรงเรียน  ดำเนินการป้องกันสารเสพติด
        3.ชวนเพื่อนเข้ากลุ่มและเป็นสามชิกตามโครงการทูบีนัมเบอร์วัน
        4.แกนนำและสมาชิกเครือข่ายร่วมกันสำรวจปัญหา และเฝ้าระวังสถานการณ์ในโรงเรียนและชุมชนร่มกับอาสาสมัครที่ดำเนินการป้องกันสารเสพติดในชุมชน
        5.แกนนำและสมาชิก ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาและวางแผนร่วมกันในการดำเนินงานเฝ้าระวังและป้องกันสารเสพติดในโรงเรียน
        6.ร่วมกันดำเนินกิจกรรมต่างๆในการป้องกันสารเสพติด เช่น
            6.1 ดำเนินการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ความรู้ ข่าวสารเน้นให้ตระหนักถึงโทษและอันตรายของสารเสพติด
            6.2 จัดกิจกรรมที่สร้างสรรค์และมีประโยชน์ร่วมกัน
            6.3 ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน ประเมินผลความสำเร็จและปัญหาที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานเพื่อหาทางแก้ไข
            6.4 ดำเนินเฝ้าระวัง โดยแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของเครือข่ายนักเรียนร่วมกันดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
        7.ปรึกษาครูเพื่อประสานภาครัฐ เอกชน และองค์การปกครองท้องถิ่น เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนสื่ออุปกรณืทางวิชาการ ตลอดจนงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินโครงการและกิจกรรมการป้องกันสารเสพติดในโรงเรียนและชุมชน
        8.ขยายการดำเนินงานเฝ้าระวังและป้องกันสารเสพติด โดยเครือข่ายแกนนำนักเรียนและเยาวชนในโรงเรียนออกไปสู่ชุมชน

วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

บทที่ 10 การเคลื่อนย้ายอย่างปลอดภัย

        ความสำคัญของการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วยอย่างปลอดภัย
การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วย เป็นขั้นตอนที่สำคัญในการให้การปฐมพยาบาล เพราะการเคลื่อนย้ายที่ถูกวิธีและรวดเร็วจะช่วยลดอันตรายจากการบาดเจ็บและการสูญเสียชีวิตได้มาก
       หลักทั่วไปในการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วย
หลักการโดยทั่วไปคือต้องให้การปฐมพยาบาลก่อนหลังจากได้มีการสำรวจและประเมินสภาพร่างกายจนแน่ใจว่าผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วยได้รับอันตรายมากน้อยเพียงใด  สิ่งที่ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะทำต่อ คือ การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วย ก่อนจะนำส่งแพทย์ให้การรักษาต่อไป ถ้าไม่จำเป็นไม่ควรเคลื่อย้าย นอกจากมีอาการรุนแรงหรือสถานการณ์ในที่เกิดเหตุไม่ปลอดภัยจำเป็นต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล
        หลักการทั่วไปในการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วย
1.ควรมีความรู้ และทักษะพอสมควร
2.ต้องละลึกเสมอว่าการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บไม่ถูกวิธีและไม่ระวังอาจทำให้บาดเจ็บมากขึ้น อาจถึงขั้นพิการหรือเสียชีวิตได้
3.ต้องตัดสินใจเสียก่อนว่าควรใช้การเคลื่อนย้า่ยด้วยวิธีใด จึงจะเหมาะสมกับอาการบาดเจ็บ ผู้ปฐมพยาบาลต้องตัดสินใจเลือกวิธีปฏิบัติที่สะดวก และรวดเร็วที่สุด ที่สำคัญ ไม่ทำให้ผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วยมีอาการบาดเจ็บมากขึ้น
4.เคลื่อนย้ายด้วยความระมัดระวังอย่างที่สุด  อย่าทำในสิ่งที่ไม่รู้เป็นอันขาด
5.ตรวจดูอาการผู้บาดเจ็บก่อนการเคลื่อนย้าย หากพบว่ามีความจำเป็นต้องปฐมพยาบาลให้รีบกระทำก่อน เช่น  การห้ามเลือด การเข้าเฝือกชั่วคราว การผายปอด เป็นต้น
6.ในการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ ผู้ช่วยเหลือจะต้องตรวจสอบให้รอบคอบเพื่อไม่ให้ผู้บาดเจ็บได้รับการกระทบกระเทือนหรือเป็นอันตรายเพิ่มขึ้น
7.ขณะทำการเคลื่่อนย้ายจะต้องดูแลผู้บาดเจ็บอย่างใกล้ชิด สังเกตอาการ ชีพจรและการหายใจ ถ้าหากหัวใจเต้นอ่อนหรือหยุดเต้นต้องรีบนวดหัวใจ ซึ่งควรทำโดยเจ้าหน้าที่หรือผู้ผ่านการอบรมเท่านั้น
8.ถ้าผู้บาดเจ็บได้รับอุบัติเหตุร้ายแรง  ต้องนำผู้บาดเจ็บส่งให้ถึงมือแพทย์โดยเร็วที่สุด
9.ในการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บต้องทำด้วยความระมัดระวัง สุขุมรอบคอบ  รวมทั้งจะต้องพิจารณาถึงทิศทางการเคลื่อนย้ายที่จะนำผู้บาดเจ็บไปสู่ความปลอดภัย
10.ต้องเลือกวิธีการเคลื่อนย้ายที่เหมาะสมกับอาการบาดเจ็บ
11.ถ้าอยู่ในสถานการณ์เสี่ยงอันตรายต้องรีบย้ายผู้บาดเจ็บออกมาจากที่ประสบเหตุให้เร็วที่สุด
     
        วิธีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแบบต่างๆ

        การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วยที่ไม่ใช้อุปกรณ์ มีดังนี้
        การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บแบบพยุงเดิน
        การเคลื่อนย้ายวิธีนี้ทำโดยมีผู้ช่วยเหลือเพียงคนเดียว เป็นการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วยเล็กน้อยมีสติอยู่ และช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง
        วิธีปฏิบัติ ผู้ช่วยเหลือยืนคู่กับผู้บาดเจ็บ หันหน้าไปในทิศทางเดียวกัน จับแขนผู้บาดเจ็บข้างใดข้างหนึ่งถ้าผู้บาดเจ็บได้รับบาดเจ็บที่ขาก็ให้ขาข้างที่บาดเจ็บอยู่ใกล้กับขาผู้ช่วยเหลือ เอามือผู้บาดเจ็บพาดบ่าคล้องคอผู้ช่วยเหลือ จับข้อมือผู้บาดเจ็บไว้ มืออีกข้างโอบหลังผู้บาดเจ็บพาเดิน ต้องพยายามออกแรงพยุงผู้บาดเจ็บให้มากที่สุด เพื่อให้ผู้บาดเจ็บเดินได้โดยไม่ต้องใช้แรงมากและเป็นการลดน้ำหนักตัวที่จะลงบนขาในกรณีที่เป็นการบาดเจ็บที่ขา เท้า หรือข้อเท้า

       การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บแบบแบกใส่บ่า
       ใช้ในกรณีที่ผู้บาดเจ็บหมดสติ หรือถ้ามีสติก็ต้องมีรูปร่างไม่ใหญ่โตมากนัก และผู้ช่วยเหลือต้องมีรูปร่างใหญ่โดและแข็งแรงกว่า สามารถทำได้ 2 วิธี ดังนี้
        วิธีที่ 1
1.ผู้ช่วยเหลือสัมผัสร่างกายผู้บาดเจ็บ
2.ก้าวเท้าไปยืนคร่อมลำตัวผู้บาดเจ็บ เอามือดึงไหล่ขึ้นมา
3.ใช้มือสอดเข้าใต้รักแร้ทั้งสองข้างจนมือประสานกันได้
4.ดึงตัวผู้บาดเจ็บขึ้นมาจากท่าคุกเข่าจนถึงท่ายืน
5.ใช้มือจับข้อมือผู้บาดเจ็บข้างหนึ่ง ย่อตัวนำผู้บาดเจ็บพาดที่บ่าใช้มืออีกข้างรวบที่ขาทั้งสองตรงข้อพับ
6.ลุกขึ้นยืน เอามือผู้บาดเจ็บข้างที่จับไว้ตอนต้นส่งไปยังมือที่จับขา
7.ใช้มือข้างที่จับขาผู้บาดเจ็บจับมือผู้บาดเจ็บแทน โดยให้ขาผู้บาดเจ็บอยู่ระหว่างแขนและลำตัวของผู้ช่วยเหลือ
        วิธีที่ 2
1.ผู้ช่วยเหลือคุกเข่าเหนือศรีษะผู้บาดเจ็บ
2.ใช้มือทั้งสองสอดเข้าใต้รักแร้
3.ยกตัวขึ้นมาจนอยู่ในท่ายืน
4.ย่อตัวลงแบกผู้บาดเจ็บขึ้นบ่า ให้มือข้างหนึ่งจับข้อมือผู้บาดเจ็บ อีกข้างคล้องขาด้านในผู้บาดเจ็บยืนตรง ส่งมือที่จับผู้บาดเจ็บไปยังมือที่กอดขา แล้วพาเดิน

       การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บแบบอุ้มกอดด้านหน้า
       เหมาะสำหรับผู้บาดเจ็บที่เดินไม่ได้ และน้ำหนักตัวไม่มากหนัก หรือไม่เกินกำลังของผู้ช่วยเหลือ
       วิธีปฏิบัติ
1.ให้ยกผู้บาดเจ็บขึ้นมาด้วยการคุกเข่าข้างหนึ่งลง
2.ยกผู้บาดเจ็บขึ้น ให้ผู้บาดเจ็บพักบนเข่า
3.ยกผู้บาดเจ็บขึ้นในท่ายืน เพื่อคามนุ่มนวลและป้องกันอันตรายซึ่งอาจเกิดที่กระดูกสันหลังแล้วพาเดิน ถ้าผู้บาดเจ็บยังมีสติอยู่ใช้แขนด้านในคล้องคอผู้ช่วยเหลือ

        การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บแบบกอดคอขี่หลัง
        เหมาะกับผู้บาดเจ็บที่ขา เดินไม่ได้ แต่ต้องรู้สึกตัวดีหรือรู้สึกตัวอยู่บ้าง มีน้ำหนักตัวไม่หนักมาก ไม่เกินกำลังของผู้ช่วยเหลือ
        วิธีปฏิบัติ ให้ผู้บาดใจยืนทาบหลังและกอดคอผู้ช่วยเหลือ ผู้ช่วยเหลือย่อตัวลงพร้อมสอดมืทั้งสองข้างเข้าใต้เข่าของผู้บาดเจ็บ และดึงมือทั้งสองข้างของผู้บาดเจ็บมายึดไว่ในลัำกษณะไขว้กัน เมื่อทรงตัวได้จึงพาเดิน

          การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บแบบใช้สองคนหาม
          ใช้ในกรณีผู้บาดเจ็บที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ เหมาะสำหรับย้ายผ่านที่แคบ
          วิธีปฏิบัติ ผู้ช่วยเหลือคนหนึ่งอยู่ทางศรีษะ สอดแขนเข้าใต้รักแร้ของผู้บาดเจ็บ แล้วโอบมาด้านหน้า มือทั้งสองจับให้แน่น ส่วนผู้ช่วยเหลืออีกคนอยู่ด้านหน้าหันหน้าไปตามกันกับคนหลัง ยืนระหว่างขาทั้งสองของผู้บาดเจ็บ ใช้มือจับใต้เข่าทั้งสองข้างของผู้บาดเจ็บ หลังจากนั้นให้ผู้ช่วยเหลือทั้งสองคนยกผู้บาดเจ็บขึ้นในท่านั่ง แล้วจึงพาเดิน ต้องใช้ความเร็วเท่ากัน       

        การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บแบบที่นั่งสองมือ
        ใช้ในกรณีผู้บาดเจ็บเดินไม่ได้ หมดสติ
        วิธีปฏิบัติ ผู้ช่วยเหลือทั้งสองหันหน้าเข้าหากัน คุกเข่าลงข้างตัวของผู้บาดเจ็บคนละข้างพยุงผู้บาดเจ็บให้อยู่ในท่านั่ง  ผู้ช่วยเหลือทั้งสองคนใช้แขนโอบหลังผู้บาดเจ็บบริเวณรักแร้แล้วใช้มือจับข้อมือซึ่งกันและกัน  สอดแขนอีกข้างเข้าที่ใต้เข่าของผู้ได้รับบาดเจ็บ และใช้มือจับข้อมือซึ่งกันและกัน จากนั้นจึงยกผู้บาดเจ็บขึ้นพร้อมๆ กัน แล้วพาเดินไป
     
        การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บแบบอุ้มประสานแคร่
        ใช้ในกรณีที่ผู้บาดเจ็บมีสติดี และสามารถใช้มือยึดจับผู้ช่วยเหลือได้
        วิธีปฏิบัติ ผู้ช่วยเหลือทั้งสองคนหันหน้าเข้าหากัน ใช้มือขวาจับข้อมือซ้ายของตนและใช้มือซ้ายของตนจับข้อมือขาของอีกคนหนึ่ง มือทั้งสี่จะประสานกันเป็นแคร่ ย่อตัวลงให้ผู้บาดเจ็บนั่งลงบนมือทั้งสี่ แล้วให้ผู้บาดเจ็บโอบรอบคอผู้ช่วยเหลือทั้งสอง หลังจากนั้นยกผู้บาดเจ็บขึ้นพร้อมกันแล้วพาเดิน

        การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บแบบสามคนหาม
        ใช้ในกรณีที่ต้องเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บในลักษณะนอน หรือผู้บาดเจ็บไม่รู้สึกตัว ระยะที่เคลื่อนที่ไปไม่ไกลนัก  และต้องมีผู้ช่วยเหลือสามคน
        วิธีปฏิบัติ
1.ผู้ช่วยเหลือทั้ง 3 หันหน้าไปทางเดียวกันและควรเป็นข้างที่ไม่ได้รับบาดเจ็บ ผู้ช่วยหลือทั้งหมดคุกเข่าลงและเป็นเข่าข้างเดียวกัน คนที่อยู่ทางศีรษะสอดแขนเข้าที่ใต้ศีรษะ คอ และไหล่  ส่วนแขนอีกข้างสอดเข้าที่ใต้หลัง คนถัดมาสอดแขนข้างหนึ่งเข้าที่บริเวณเอวและสะโพก ส่วนอีกข้างสอดเข้าที่ขาท่อนบน  คนท้ายสอดแขนเข้าที่ใต้เข่า และแขนอีกข้างสอดเข้าที่ข้อเท้า
2.ยกผู้บาดเจ็บขึ้นพร้อมๆ กันในท่านั่ง แล้วทุกคนกอดผู้บาดเจ็บให้ด้านหน้าของเข่าแนบลำตัวของผู้ช่วยเหลือทุกคน
3.ลุกขึ้นยืนพร้อมกัน เมื่อทรงตัวได้แลัวจึงพาเดินด้วยความระมัดระวังและก้าวเดินไปข้างหน้าพร้อมๆกัน


        การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วยโดยใช้อุปกรณ์ มีอยู่หลายวิธีขึ้นอยู่กับสภาพการณ์ดังนี้
        การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บแบบใช้เก้าอี้
        ควรใช้เก้าอี้ที่มีความแข็งแรง และเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บที่ยังมีสติอยู่ แต่ไม่สามารถเดินได้ หรือใช้ในกรณีที่ต้องนำผู้ป่วยลงบันได
        วิธีปฏิบัติทให้ผู้บาดเจ็บนั่งพิงเก้าอี้ในท่าที่สบายๆให้ผู้ช่วยเหลือสองคนยกเก้าอี้ขึ้น คนหนึี่งจับด้านหลังพนักพิงและอีกคนหนึ่งจับทางด้านหน้าของเก้าอี้ ยกเก้าอี้ขึ้น แล้วพาเดินไปทางด้านข้าง



        การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแบบใช้ผ้าห่มทำแปล
        เหมาะสำหรับผู้บาดเจ็บที่มีอาการหนัก และจำเป็นต้องใช้แปลสนามแต่ไม่มีแปล  จึงต้้องดัดแปลงวัสดุมาทำแปล
        วิธีทำแปล
1.นำผ้าห่มผืนใหญ่ๆหนาๆ มาคลี่ออกแบ่งเป็น 2 ส่วน พับส่วนที่ 1 มาหาส่วนที่ 2 แล้วสอดไม้พลองตามรอยพับให้โพล่ออกมาทั้ง 2 ข้าง
2.นำไม้พลองท่อนที่ 2 วางลงบนผ้าที่พับไว้ห่างจากไม้พลองอันแรกพอควร
3.พับชายผ้าห่มย้อนกลับมาทับไม้พลองอันที่ 2 และให้ชายผ้าพาดคลุมไม้อันที่ 1 ได้เปลที่ใช้ผ้าห่มและไม้พลองทำ
        วิธีลากด้วยผ้าห่ม
        เหมาะสำหรับย้ายผู้ป่วยออกจากตึกที่กำลังมีไฟไหม้ ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หมดสติ และพื้นที่นั้นเรียบ วิธีการย้ายให้พับผ้าห่มตามยาวทบกัน 2-3 ชั้น วางผ้าห่มชิดตัวผู้ป่วยทา่งด้านขวา ผู้ช่วยเหลือคุกเข่าลงข่างตัวผู้ป่วยอีกข้างหนึ่ง จับผู้ป่วยตะเเคงเพื่อให้นอนบนผ้าห่มม้วนผ้าห่มเข้าหากัน ผู้ช่วยเหลือใช้มือสองข้างจับผ้าห่มในตำแหน่งศรีษะของผู้ป่วย ใช้มือดึงผ้าห่มเคลื่อนย้ายไปในทิศทางที่ต้องการ
        วิธีปฏิบัติ ให้ผู้บาดเจ็บนอนหงาย ผู้ช่วยเหลือสอดมือใต้รักแร้แล้วลากถอยหลัง หรือใช้การจับข้อเท้าทั้งสองข้างแล้วลากถอยหลัง
        การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแบบคลานลาก
        ใช้ในกรณีที่ผู้บาดเจ็บไม่รู้สึกตัวและอยู่ในที่แคบ ไม่สามารถยืน และย้ายผู้บาดเจ็บได้
        วิธีปฏิบัติ ให้ผู้บาดเจ็บนอนหงายผูกข้อมือทั้งสองข้างให้ติดกัน ผู้ช่วยเหลือคุกเข่าคร่อมตัวผู้บาดเจ็บในท่าคลานแล้วสอดศรีษะเข้าระหว่างแขนทั้งสองที่ผูกข้อมือไว้ จากนั้นผู้ช่วยเหลือจะคลานโดยใช้คอลากผู้บาดเจ็บเคลื่อนที่










       
         

วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2555

บทที่ 9 การปฐมพยาบาล

        การปฐมพยาบาล คือ การช่วยเหลือเบื้องต้นโดยรีบด่วนแก่ผู้ได้รับบาดเจ็บ
ความสำคัญของการปฐมพยาบาล
1.การปฐมพยาบาลเป็นการช่วยรักษาชีวิตของผู้บาดเจ็บและผู้ป่วย
2.การปฐมพยาบาลช่วยป้องกันไม่ให้ผู้บาดเจ็บและผู้ป่วยมีสภาพหนักกว่าเดิม
3.การปฐมพยาบาลเป็นการบรรเทาความเจ็บปวด
        หลักทั่วไปในการปฐมพยาบาล
1.ในสถานที่ที่มีผู้ได้รับอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยให้ผู้ปฐมพยาบาลสังเกตสถานการณ์และสิ่งแวดล้อม
2.ประเมินสภาพแวดล้อมรอบๆที่เกิดเหตุว่าปลอดภัยหรือไม่ จึงเข้าไปให้การช่วยเหลือ
3.หากประเมินแล้วว่าไม่สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บได้ตามลำพัง ให้ติดต่อขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น
4.จัดท่าให้ผู้ป่วย/ผู้ป่วยนอนพักนิ่งๆในท่าที่สบายหรือท่าที่เหมาะสมแก่การปฐมพยาบาลและบอกให้ทราบว่าผู้ปฐมพยาบาลจะดำเนินการช่วยเหลืออะไรบ้าง
5.ประเมินผู้บาดเจ็บ/ผู้ป่วยว่าได้รับบาดเจ็บรุนแรงที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลเร่งด่วนมากน้อยหรือไม่
6.ถ้าจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ/ผู้ป่วยต้องกำหนดใน่การส่งลักษณะใด
7.อุบัติเหตุและการเจ็บป่วยบางอย่างจำเป็นต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญเมื่่อให้การปฐมพยาบาลแล้ว รีบนำส่งไปรับการรักษาต่อทันที
        สถานการณ์ที่ต้องให้การปฐมพยาบาล
1.หมดสติ เป็นการที่ร่างกายไม่ตอบสนองต่สิ่งกระตุ้น
2.เลือดออก การบาดเจ็บมักมีบาดแผลเลือดออก
3.กระดูกหัก ต้องปฐมพยาบาลโดยการเข้าเฝือกชั่วคราว
        วิธีการปฐมพยาบาลคนเป็นลม
การเป็นลม(Fainting)เป็นอาการเนื่องจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ
สาเหตุ
1.ร่างกายอ่อนเพลีย
2.ขาดอากาศบริสุทธิ์
3.เกิดจากอารมณ์
4.มีบาดแผลเสียเลือดมาก
อาการ
1.ที่ผู้ป่วยบอก เช่น วิงเวียงศรีษะ มือเย็น
2.ที่สังเกตเห็น เช่น หน้าซีด ปากซีด ตัวเย็น
การปฐมพยาบาล
กรณีหายใจปกติ
1.ห้ามคนมุงดู
2.ให้นอนราบ
3.คลายเสื้อผ้าให้หลวม
4.ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดหน้าผาก
กรณีหายใจผิดปกติ
1.ให้นอนงายพื้นราบศรีษะต่ำ
2.คลายเสื้อผ้าให้หลวม
3.ให้ผู้ป่วยนอนตะแคง เอาสิ่งแปลกปลอมในปากออกให้หมด
4.ถ้าหยุดหายใจ รีบนำตัวส่งโรงพยาบาล
วิธีการปฐมพยาบาลบาดแผล
บาดแผล หมายถึง การถูกทำลายของผิวหนังหรือเนื้อเยื้อที่อยู่ภายใต้ผิวหนัง
1.แผลปิด เป็นแผลที่ไม่มีการฉีกขาดของเนื้อเยื้อ
2.แผลเปิด เป็นผิวหนังฉีกขาดมีเลือดออก
การปฐมพยาบาล
2.1ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด เช็ดแผลให้แห้ง ใส่ยาฆ่าเชื้อ ระวังอย่าให้แผลถูกน้ำหรือสิ่งสกปรก
2.2แผลฉีกขาด ให้ปิดปากแผลด้วยผ้าสะอาดและกดปากแผลให้แน่นเพื่อห้ามเลือด
2.3แผลถูกแทง ให้ปิดปากแผลด้วยผ้าสะอาด แล้วรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ
2.4แผลถูกของแหลมทิ่ม ตำ เมื่อถูกทิ่มตำ ให้ดึงออกปิดปากแผลด้วยผ้าสะอาด และนำส่งโรงพยาบาลแต่ถ้าของแหลมบางอย่างหักค้าง
2.5แผลถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวกหรือวัตถุระเบิด ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งปิดแผลช่วยลดอาการปวด อย่าเจาะหนังที่พองให้แตกออกเพราะจะยิ่งปวด และติดเชื้อง่ายขึ้น ความรุนแรงขึ้นอยู่กับความลึกของชั้นผิวหนัง ขนาดและำแหน่งของอวัยวะที่บาดเจ็บ
        บาดแผลถูกแมลงต่อย อาการไม่รุนแรง จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนแมลงที่ต่อยและจำนวนครั้งที่ถูกต่อย
การปฐมพยาบาล
1.รีบเอาเหล็กในออก โดยใช้สก๊อตเทป ปิดทาบบริเวณที่ถูกต่อยแล้วดึงออกมา
2.ประคบด้วยความเย็น ถ้าปวดมากให้กินยาแก้ปวดพาราเซเตมอลช่วย
3.พิษของสัตว์มีฤทธิ์เป็นกรด ต้องใช้น้ำยาที่มีฤทธิ์เป็นด่างอย่างอ่อนชุปสำลีทา
4.ถ้ามีอาการมากรีบปรึกษาแพทย์
        บาดแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
ไฟไหม้ (Burns) หมายถึง การถูกทำลายของผิวหนังหรือเนื้อเยื้อ ด้วยความร้อนแห้ง
น้ำร้อนลวก (Scalds) หมายถึง การถูกทำลายของผิวหนังหรือเนื้อเยื้อ ด้วยความร้อนชนิดเปียก
การปฐมพยาบาล
1.ถ้าเป็นแผลขนาดเล็ก ให้ใช้ความเย็นบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อน
2.ถ้าแผลลึกแต่ไม่กว้าง การปฏิบัติคืิอ ป้องกันการอักเสบติดเชื้อ ถ้าบาดแผลพอง ขนาดเล็กไม่ก่อน2-3 ซม. อาจปล่อยทิ้งไว้เฉยๆเพียงแต่รักษาความสะอาดภายนอก โดยล้างแผลด้วยน้ำสบู่
3.ถ้าเป็นบริเวณข้อพับ แขนหรือขา ควรใส่เฝือกชั่วคราว เพื่อป้องกันการหดรั้งของแผล และป้องกันความพิการที่จะเกิดขึ้น
4.ถ้ามีอาการช็อก รีบรักษาและป้องกันการช็อกไว้ก่อน โดย
4.1ให้ยกปลายเท้าสูงและให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย
4.2ให้ยาระงับปวดพาราเซตามอล รีบนำส่งโรงพยาบาล
4.3ถ้าหายใจผิดปกติหรือหยุดหายใจ รีบช่วยหายใจและส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
4.4ถ้าชีพจรเบามากหรือไม่มีชีพจร ต้องนวดหัวใจภายนอกทันที
        บาดแผลถูกสารเคมี มีลักษณะไหม้ มีอาการคล้ายๆกับแผลโดนไฟไหม้ แต่อันตรายที่เกิดขึ้นคือ แผลไหม้จากสารเคมีอาจกินลึกกว่าและการหายของบาดแผลช้ากว่า
บาดแผลถูกกรด เช่น กรดกำมะถัน กรดเกลือ กรดไนตริก
การปฐมพยาบาล
1.ควรล้างแผลทันทีด้วยน้ำสะอาดจำนวนมากๆเป็นเวลานานๆถ้าเป็นน้ำอุ่นได้ยิ่งดีล้างนานจนแน่ใจว่าสารเคมีออก
2.รีบนำส่งแพทย์
บาดแผลถูกด่าง เช่น โปตัสเซียมไฮดรอกไซด์ ปูนขาว โซดาไฟ
การปฐมพยาบาล
1.ควรล้างแผลทันทีด้วยน้ำสะอาดจำนวนมากๆเป็นเวลานานๆ
2.รีบนำส่งแพทย์
        วิธีการปฐมพยาบาลกระดูกหัก ข้อเคลื่่อน
ดูแลอวัยวะตำแหน่งนั้นพักอยู่นิ่งๆไม่ควรเคลื่อนไหว ถ้ากระดูกหักต้องเข้าเฝือกชั่วคราว ก่อนเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเพื่อนำส่งโรงพยาบาล กรณีมีแผลฉีกขาดให้ปิดแผลห้ามเลือดก่อนที่จะเข้าเฝือก และอย่าพยายามดึงกระดูกที่หักเข้่่าที่ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้กระดูกส่วนที่หักเคลื่อนไหว เพราะอาจก่อให้ตำทะลุหลอดเลือด เส้นประสาทหรือตำทะลุออกมานอกกล้ามเนื้อ
        การเข้าเฝือกชั่วคราวเป็นวิธีบังคับกระดูกส่วนที่หักอยู่นิ่งไม่เคลื่อนไหวเพื่อลดความเจ็บปวดและป้องกันความพิการ ถ้าหาสิ่งที่ใกห้มือเพื่อเข้าเฝือกไม่ได้ ให้มัดส่วนที่กระดูกหักไว้ไม่เคลื่อนไหว

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555

บทที 8 สมรรถภาพทางกาย

        สมรรถภาพทางกาย หมายถึง ความสามารถของร่างกายในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผล
        ความสำคัญของการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย
1.ทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง
2.การทำงานของอวัยวะต่างๆมีการประสานกันดีขึ้น
3.ทำให้บุคลิกลักษณะดี มีความสง่า ทรวดทรงดีและสัดส่วนของร่างกายดีขึ้น
4.ป้องกันการเกิดโรคต่างๆ
         ประเภทของสมรรถภาพทางกาย แบ่งเป็น 2 ประเภท
1.สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ หมายถึง ความสามารถของร่างกายในการที่ทำให้บุคคลมีสุขภาพดี ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ
2.สมรรถภาพทางกายเพื่อทักษะ หมายถึง ความสามารถของร่างกายที่ช่วยให้บุคคลสามารถประกอบกิจกรรมทางกายได้ดี
          วิธีทดสอบสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ
1.การทดสอบความอดทนของระบบไหลเวียนเลือดและระบบหายใจ
2.การทดสอบความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อ
3.การทดสอบความอ่อนตัว
4.การวัดส่วนประกอบของร่างกาย
           วิธีการสร้างเสริมและปรับปรุงสมรรถภาพทางกายตามผลการทดสอบ
1.การออกกำลังกาย
1.1การเตรียมตัวก่อนออกกำลังกาย 
1.2ปฏิบัติตามหลักการออกกำลังกาย มีดังนี้
1.2.1การอบอุ่นร่างกาย
1.2.2วิธีการออกกำลังกาย การออกกำลังกายที่ถูกวิธีและถูกขั้นตอน จะช่วยให้สมรรถภาพทางกายดีขึ้น
2.การผักผ่อน
ประโยชน์ของการผักผ่อน 1.ทำให้เกิดการผ่อนคลายต่อร่างกายและจิตใจ
                                          2.ร่างกายได้พักผ่อนและสะสมพลังงาน
                                          3.ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้ดีขึ้น
                                          4.ความดันเลือดลดลง
                                          5.ช่วยบริหารจิต ทำให้จิตใจสงบ มีสมาธิ
3.การกินอาหาร การเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ สามารถทำได้ง่ายมาก ด้วยการกินอาหารครบ 5 หมู่ เพื่อให้สารอาหารครบถ้วน
4.กิจกรรมนันทนาการ นันทนาการ หมายถึง การทำให้ชีวิตสดชื่น โดยการเสริมสร้างพลังงานขึ้นใหม่

วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

บทที่ 7 น้ำหนักตัวกับสุขภาพ

        ความสำคัญของการดูแลและควบคุมน้ำหนักตัว
กระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้น้ำหนักตัวเป็นดัชนีวัดด้านสุขภาพ เพราะน้ำหนักตัวมีผลโดยตรงกับสุขภาพ
        ผลกระทบจากการมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานหรือโรคอ้วน แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ
1.โรคเรื้อรังที่สัมพันธ์กับโรคอ้วน ได้แก่ โรคหัวใจขาดเลือด,ความดันเลือดสูง,หลอดเลือดสมอง,เบาหวาน,นิ่วในถุงน้ำดี,มะเร็งบางชนิด เป็นต้น
2.ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อและการเผาผลาญทางชีวเคมีในร่างกาย
3.ปัญหาสุขภาพอ่อนแอ ทำให้เ้้กิดโรคต่างๆ
4.ปัญหาทางสังคมและจิตใจ ผู้ที่มีน้ำหนักเกินมักขาดความมั่นใจในตนเอง เกิดปมด้อย มีภาวะซึมเศร้า เนื่องจากไม่พอใจในรูปลักษณ์ของตนเอง
        วิธีการประเมินและวิเคราะห์น้ำหนักตัว
1.การประเมินน้ำหนักตัวในเด็ก ใช้ค่าน้ำหนักตัวเทียบกับน้ำหนักเกณฑ์อายุ หรือ น้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูงเปรียบเทียบกับเกณฑ์อ้างอิง
2.การประเมินน้ำหนักตัวในผู้ใหญ่ การประเมินและวิเคราะห์น้ำหนักตัวในผู้ใหญ่ สามารถทำได้โดยการคำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI) เป็นหน่วยมาตรฐานสากลที่ใช้จำแนกน้ำหนักของร่างกายว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ มีน้ำหนักตัวน้อยเกินไปหรือมากเกินไป หรือเป็นโรคอ้วนในผู้ใหญ่ที่มีอายุ20ปีขึ้นไป วิธีคำนวณใช้น้ำหนักตัวตั้ง (หน่วยกม.) หารด้วยส่วนสูงยกกำลังสอง (หน่วยเป็นม.)
        การแปลผลค่าดัชนีมวลกายสำหรับคนเอเชีย (เกษนภา เตกาญจนวนิช,2549)
          ค่า BMI น้อยกว่า 18.5     หมายถึง  น้ำหนักน้อย
          ค่า BMI 18.50 ถึง 22.99  หมายถึง   น้ำหนักปกติ
          ค่า BMI 23.00 ถึง 24.99  หมายถึง   น้ำหนักเกิน
          ค่า BMI 25.00 ถึง 29.99  หมายถึง   อ้วน
          ค่า BMI 30.00 ขึ้นไป       หมายถึง   อ้วนมาก
        วิธีการดูแลและควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
1.กินอาหารสมดุล
2.กินอาหารเช้าทุกวันเพราะมื้อเช้าเป็นมื้อหลักสำคัญ
3.กินอาหารพออิ่มในแต่ละมื้อ
4.กินอาหารธรรมชาติไม่แปรรูป
5.กินผักผลไม้รสไม่หวาน
6.กินอาหารมื้อเย็นห่างจากเวลานอนไม่น้อยกว่า 4 ชม.
7.กินให้น้อยลง เลี่ยงอาหารมันจัด หวานจัด และ เค็มจัด
8.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
9.ประเมินและวิเคราะห์น้ำหนักตัวเป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ
        การแก้ไขปัญหาน้ำหนักตัว
การเพิ่มน้ำหนักตัว มีหลักการปฏิบัติดังนี้
1.กินอาหารหลากหลายครบ 5 หมู่
2.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
การลดน้ำหนักตัว มีหลักการปฏิบัติดังนี้
1.มีความตั้งใจ มุ่งมั่นจริงที่จะลดน้ำหนัก ลดเอว
2.สร้างความคิดที่ดี
3.ตั้งเป้าหมายที่เป็นไปได้ของน้ำหนักที่ลด
4.ลดน้ำหนักเพื่อสุขภาพ ไม่ควรลดมากจนเกินไป
5.อัตราการลดน้ำหนักที่เหมาะสมคือ สัปดาห์ละครึ่งกก.-1กก.
6.ควบคุมพลังงานจากอาหารที่ได้รับในแต่ละวันกับพลังงานที่ร่างกายนำไปใช้ให้สมดุล
7.กินอาหารทุกมื้อ ต้องไม่งดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง
8.งดของหวาน และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
9.กินผัก ผลไม้ที่รสไม่หวานให้มากขึ้น
10.มีความอดทน ถ้ารู้สึกหิวทั้งๆที่เพิ่งกินไป ให้หันไปทำอย่างอื่นแทน
11.เคี้ยวอาหารอย่างช้าๆ
12.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้งๆละ 30-60 นาที โดยออกกำลังกายที่มีระดับปานกลางไม่เหนื่อมากจนเกินไป